ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์
ทำหน้าที่ติดตั้ง ซ่อมแซม และดูแลให้คอมพิวเตอร์อยู่ในสภาพดีสามารถทำงานได้ตลอดเวลา มีตำแหน่งที่สำคัญดังนี้
ช่างคอมพิวเตอร์ประจำหน่วยงาน
งานในตำแหน่งนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เพราะค่าใช้จ่ายสูงนอกจากเงินเดือนของช่างแล้ว ยังต้องมีเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีราคาแพง พบตำแหน่งนี้ในสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัยหรือบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น
ช่างคอมพิวเตอร์ประจำบริษัทผู้ขายคอมพิวเตอร์
ตำแหน่งนี้ บางทีเรียกว่า "วิศวกรลูกค้า" (Customer Engineer) มีหน้าที่ออกไปให้บริการบำรุง รักษาและซ่อมแซมเครื่องในศูนย์คอมพิวเตอร์ของลูกค้าหรือถ้าเป็นไมโครคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพีซีอาจจะให้ลูกค้านำเครื่องที่ขัดข้อง
มาส่งที่ศูนย์บริการแล้วจึงซ่อมให้
ช่างคอมพิวเตอร์ประจำบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ทำหน้าที่ศึกษาออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์และวงจรคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ บริษัทลักษณะนี้มีทั้ง
บริษัทขนาดใหญ่และบริษัทขนาดเล็กผู้ที่เป็นช่างทั้ง 3 รูปแบบดังกล่าวต้องมีพื้นฐานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์อาจจบการศึกษาระดับ ปวช.
หรือ ปวส. หรืออาจได้รับการฝึกอบรมตามลักษณะของงานที่ทำ เช่น ถ้าเป็นงานซ่อมบำรุงขนาดใหญ่จะต้องเรียนรู้โครงสร้างและ
การทำงาน
ของเครื่องนั้นอยางละเอียด ต้องอ่านวงจรเป็นโดยไม่ต้องรู้เรื่องภาษาก็ได้
แต่ถ้าเป็นงานซ่อมบำรุงเครื่องพีซีซึ่งไม่ซับซ้อนเท่าเครื่องใหญ่ ช่างคอมพิวเตอร์ควรมีความรู้เรื่องภาษาซี หรือภาษาสัญลักษณ์ด้วย
กลุ่มที่สูงกว่าช่างคอมพิวเตอร์ คือ กลุ่มนายช่างหรือวิศวกรคอมพิวเตอร์ ต้องมีพื้นฐานปริญญาตรีด้านวิศวกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร วิศวกรรมเหล่านี้ทำงานด้านการออกแบบและจัดคอมพิวเตอร์
ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ออกแบบวิธีการต่อพ่วง
อุปกรณ์ต่างๆ และออกแบบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป
2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น CMOS checksum ErrorCMOS BATTERY State LowHDD Controller Failure
3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่างผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้
4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา
5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง
หลักฐานในการสมัครงานเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างยิ่งใน การสมัครงาน ซึ่งเอกสาร ที่คุณควรจัดเตรียมไว้มีดังนี้
1. ประวัติส่วนตัว (Resume)
2. รูปถ่าย ควรเป็นรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 หรือ 2 นิ้ว โดยเป็นรูปสีหรือขาวดำก็ได้ แต่ขอให้เป็น การแต่งกาย ที่สุภาพ
3. สำเนาใบรับรองการศึกษา ได้แก่ Transcipt และสำเนา ใบปริญญาบัตร
4. สำเนาบัตรประชาชน
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. สำเนาหลักฐานการพ้นภาระทางการทหาร
7. สำเนาหนังสือรับรองการผ่านงานหรือการฝึกงาน (ถ้ามี)
ปล. เอกสารเหล่านี้ควรเตรียมถ่ายสำเนาไว้หลายๆ ชุด และที่สำคัญอย่าลืม เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง