วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โปรดิวเซอร์

ทีวีโปรดิวเซอร์ อาชีพที่ไม่มีสอนในหลักสูตร
เวลานั่งดูรายการโทรทัศน์ แล้วรู้สึกว่ารายการนี้สนุก หรือเป็นรายการที่ดี คุณชื่นชมใคร? ถ้านึกไม่ออก จะบอกให้ว่า คนที่คุณสมควรปรบมือ ให้มากที่สุด ก็คือ คนที่ถูกเรียกว่า "โปรดิวเซอร์"






ทั้งนี้ เพราะรายการโทรทัศน์ ทุกรายการ ต้องผ่านการกลั่นกรอง ออกมาจากมันสมองของ "โปรดิวเซอร์" ล้วนๆ
"โปรดิวเซอร์" คือ คนที่ทำให้รายการที่คุณดูอยู่นั้นเกิดขึ้นมาได้ นอกจากนี้ โปรดิวเซอร์ยังต้องรับผิดชอบทั้งเรื่องการจัดการ การเงิน สร้างสรรค์ เรียกว่า งานของโปรดิวเซอร์นั้น มีตั้งแต่สากกะเบือ ยันเรือรบเลยทีเดียว
โปรดิวเซอร์ถือเป็นตำแหน่ง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบพอสมควร เพราะการผลิต รายการรายการหนึ่งความรับผิดชอบทั้งหมดจะต้องตกอยู่กับโปรดิวเซอร์ (ถ้าไม่นับบรรณาธิการและเจ้าของสถานี) โปรดิวเซอร์ต้องควบคุมทีมงานทั้งหมด และมีหน้าที่ตัดสินใจว่าจะทำอะไร และไม่ทำอะไร
ฟังดูก็น่าจะ "หมูๆ" แต่เอาเข้าจริงงานโปรดิวเซอร์ "หิน" มากทีเดียว เพราะในการทำรายการโทรทัศน์มีถึง 4 ขั้นตอนที่สำคัญ เริ่มจาก

    "Pre Production" คือ การสำรวจและหาข้อมูล
    "Production" คือ การถ่ายทำ
    "Post Production" คือ การนำสิ่งที่ถ่ายทำมาตัดต่อเข้าเป็นหนึ่งตอน และสุดท้าย คือ
    "Preview" คือ การนั่งดูซ้ำทั้งหมดในฐานะคนดูคนหนึ่ง
เมื่อมีถึง 4 ขั้นตอน ทีมงานจึงแบ่งออกเป็นหลายฝ่าย แต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่ คิดงานของตัวเท่านั้น แต่ผู้ที่มีหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ จะต้องคิดภาพรวมทั้งหมด คิดทุกเรื่อง ดูทุกส่วน นอกจากนี้ ยังต้องจัดสรรเรื่องเวลา และการบริหาร ทั้งการเงินและบุคคล ดังนั้น หากไม่รู้จักการวางแผนที่ดีก็มีสิทธิ "หลุด" ได้เช่นกัน
แต่ละขั้นตอนของการทำงานจะต้องอาศัยความพิถีพิถันอย่างมาก เนื่องจากรายการโทรทัศน์สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ชม จึงมีกรรมการตัดสิน คุณภาพผลงานเป็นแสน ความกดดันที่โปรดิวเซอร์ต้องเผชิญ ทำให้งานต้องผ่านการกลั่นกรองแล้วเป็นอย่างดี
หลักการทำงานของโปรดิวเซอร์ คือ ต้องเลือกเสนอประเด็นที่สนใจที่สุด ประกอบกับรูปแบบในการนำเสนอให้ชวนติดตาม ก่อนจะทำรายการสักตอน โปรดิวเซอร์ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าเมื่อผู้ชมดูแล้วเขาได้อะไร เราจะเสนออะไร และจะทำอย่างไรให้คนดูๆ จนจบรายการ คำว่าเนื้อหา คือ ทุกอย่างทั้ง ภาพ เพลง บท เนื้อหา โทรทัศน์จะต่างจากหนังสือพิมพ์ก็ตรงที่ต้องมองทุกอย่าง
โปรดิวเซอร์แต่ละรายการจะประสบปัญหาแต่ละประเภทแตกต่างกันออกไป หากเป็นรายการสารคดีที่เน้นทางด้านเนื้อหาเป็นสำคัญ ความยากของงานก็มาจากเนื้อหาของรายการที่ต้องละเอียดมากกว่ารายการวาไรตี้ที่เอาคนมานั่งคุยกันทั่วๆ ไป แต่ปัญหาสำคัญที่โปรดิวเซอร์รายการบันเทิงพบเสมอ ได้แก่ ปัญหาจากตัวลูกค้าและเอเยนซี เพราะรูปแบบรายการที่สามารถสอดแทรกสินค้าและผลิตภัณฑ์ลงไปได้ง่าย ลูกค้าบางคนจึงต้องการโปรโมทสินค้าของตัวเองซึ่ง บางครั้งมันก็ออกนอกหน้ามากเกินไปหน่อย
คนที่เป็นนายจ้างของโปรดิวเซอร์ ได้แก่ สื่อต่างๆ โปรดักชั่นเฮาส์ ค่ายเพลงที่มีรายการ ภาพยนตร์ วิทยุ และทุกธุรกิจที่เกี่ยวกับวิทยุโทรทัศน์
ส่วนเวลาทำงานก็ไม่มีการกำหนดแน่นอน เนื่องจากโปรดิวเซอร์ต้องลงทั้งแรงและไอเดีย ส่วนรายได้ก็พออยู่ได้ แต่อาจจะต่ำไปสักหน่อยเมื่อเทียบกับคนที่อยู่ใน สายงานโฆษณา
มีข้อสังเกตว่า โปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ของต่างประเทศ จะต้องมีอายุ 30 ปีขึ้นไป ในขณะที่โปรดิวเซอร์ไทยมีอายุเฉลี่ยไม่ถึง 30 ซึ่งหากดูจากเนื้องานแล้ว โปรดิวเซอร์ควรจะเป็นผู้ที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์มากพอสมควร โดยเฉพาะโปรดิวเซอร์ที่ทำงานกับโปรดักชั่น เฮาส์ต่างๆ ที่ต้องติดต่อและวางแผนงานร่วมกับเอเยนซี หรือฝ่ายโฆษณาด้วยตัวเอง จึงต้องสามารถนั่งคุย กับฝ่ายบริหารระดับสูงได้ดี
นอกจากนี้ โปรดิวเซอร์ที่ทำงาน กับโปรดักชั่นเฮาส์ ยังต้องทำสัญญ าซื้อเวลากับสถานีต่างๆ เองได้อีกด้วย ซึ่งการนำรายการไปขาย ก็ต้องพิจารณานโยบายของ แต่ละสถานีให้ดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้นก็อาจเสียเวลาเปล่า เช่น ถ้ารายการที่เป็นสารคดีจ๋า ประเภทเนื้อหาแน่นเอี๊ยด ก็น่าจะเหมาะกับช่อง 9 มากกว่า แต่ถ้าเป็นรายการบันเทิง ก็รีบเอาไปเสนอช่อง 3 หรือ 7 ได้เลย
ทั้งๆ ที่ประสบการณ์ และชั่วโมงบินเป็นสิ่งสำคัญ แต่น่าเสียดายที่โปรดิวเซอร์บางคน อาจไม่คิดจะยึดอาชีพนี้ ไปตลอดชีวิต ในขณะที่ต่างประเทศ จะให้ความสำคัญ กับคนที่มีประสบการณ์มาก และสามารถยึดเป็นอาชีพ ได้โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องวัย

โดยเฉพาะในรายการที่มีคุณภาพ เช่น รายการ 60 minutes ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเวลายิ่งเนิ่นนานยิ่งเพิ่มมูลค่าให้กับตัวเอง โปรดิวเซอร์บางคน ก็ขึ้นแป้นเป็นผู้บริหารได้ และถ้าเป็นสถานีโทรทัศน์ก็อาจก้าวไปเป็น Executive Producer ได้ คือ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาโปรดิวเซอร์รุ่นน้องต่อไป
วิชาชีพโปรดิวเซอร์จริงๆ ไม่มีสอนในหลักสูตร แม้ในคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งถือเป็นสายตรงที่สุด ที่ถือว่าตรงสายที่สุด ก็จะสอนแต่เรื่องทฤษฎีโดยรวม และวิธีเขียนบท วิธีตัดต่อ หรือจรรยาบรรณ ของสื่อมวลชน แต่ไม่เคยลงลึกไปว่า การเป็นโปรดิวเซอร์ เขาทำอะไรกัน ความรู้ต่างๆ จึงล้วนเกิดจากการเรียนรู้ จากประสบการณ์ ในการทำงานจริงทั้งสิ้น

ที่มา:http://www.nationejobs.com/content/worklife/careertalk/template.php?conno=105

1. คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
   1.1 วุฒิการศึกษา    ปวส.  ขึ้นไป
   1.2 สัญชาติ ไทย   เชื้อชาติ  ไทย    ศาสนา   ไม่กำหนด
   1.3 บุคลิกภาพ   ดี
   1.4 ความสามารถพิเศษ   ถ้ามี
2. ประสบการณ์ในการทำงาน    1ปี
3. ลักษณะงาน   ควบคุมและผลิต
4. สภาพการจ้างงาน    เงินเดือน 
5. สวัสดิการในการทำงาน    ที่พัก  ประกัน  เงินโบนัส 
6. ความก้าวหน้าในอาชีพ     เป็นผู้กำกับในอนาคตได้
                                   


 หลักฐานในการสมัครงานเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างยิ่งใน การสมัครงาน ซึ่งเอกสาร ที่คุณควรจัดเตรียมไว้มีดังนี้ 

1. ประวัติส่วนตัว (Resume) 
2. รูปถ่าย ควรเป็นรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 หรือ 2 นิ้ว โดยเป็นรูปสีหรือขาวดำก็ได้ แต่ขอให้เป็น การแต่งกาย ที่สุภาพ 
3. สำเนาใบรับรองการศึกษา ได้แก่ Transcipt และสำเนา ใบปริญญาบัตร 
4. สำเนาบัตรประชาชน 
5. สำเนาทะเบียนบ้าน 
6. สำเนาหลักฐานการพ้นภาระทางการทหาร 
7. สำเนาหนังสือรับรองการผ่านงานหรือการฝึกงาน (ถ้ามี) 
ปล. เอกสารเหล่านี้ควรเตรียมถ่ายสำเนาไว้หลายๆ ชุด และที่สำคัญอย่าลืม เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น